เมนู

2. มหาโคสิงคสาลสูตร


[369] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อม
ด้วยพระสาวกผู้เถระซึ่งมีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระ-
มหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ
ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ.
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลา
เย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า มาไปกันเถิด
ท่านกัสสปะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม ท่านพระมหา-
กัสสปะรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมค-
คัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตร เพื่อฟังธรรม ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วกล่าวว่า
ท่านเรวตะ ท่านสัตบุรุษพวกโน้น กำลังเข้าไปหาท่านพระเรวตะ เพื่อฟัง
ธรรม มาไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟัง
ธรรม ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้นท่านพระเรวตะ
และท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม.
[370] ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์
กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จง
มาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อยู่ใกล้พระผู้มี
พระภาคเจ้า มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์

ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้ง
ไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.
ท่านพระอานน์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้เป็น
พหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะสั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหม-
จรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมาก
แล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความ
เห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท 4 ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่
ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วย
ภิกษุเห็นปานนี้แล.
[371] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่าน
อานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน
เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่ว
ต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วย
ภิกษุเห็นปานไร.
ท่านพระเรวะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็น
ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ
ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสนา
พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็น
ปานนี้แล.

สรรเสริญทิพยจักษุ


[372] เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กลาวกะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะปฏิภาณตามที่เป็นของ
ตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านอนุโทธะในข้อนั้นว่า
ป่าโคสิงคสาลวันป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบาน
สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวัน
จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.
ท่านอนุรุทธะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจ
ดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีจักษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ฉัน
ใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็น
ปานนี้แล.
[373] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะว่า ท่านกัสสปะปฏิภาณตามที่เป็นของตน
ท่านอนุรุธทธะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านมหากัสสปะในข้อนั้น
ว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละ
มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสปะ ป่าโคสิงค-
สาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.
ท่านพระมหากัสสปะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้
ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็น
วัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าว